สารบัญ
1. อาการที่บ่งบอกว่าเป็นไหลย้อน
แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก แน่นท้อง ท้องอืด เรอเปรี้ยว เจ็บคอ เสียงแหบ ไอเรื้อรัง หรือบางครั้งอาจมี น้ำย่อยรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนมาทางปาก อาการเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น บริเวณกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ที่เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (gastro esophageal reflux disease : GERD) (กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์, 2550)
2. กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร


สาเหตุการเกิดโรคกรดไหลย้อน
ภาวะของโรคกรดไหลย้อน เกิดขึ้นเนื่องจาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังบริเวณ หลอดอาหาร ซึ่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารมีสภาพความเป็นกรดสูง เพราะประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกซึ่ง ทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ที่ผ่านเข้ามาพร้อมกับอาหาร รวมทั้งเอนไซม์เพปซินซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารชีวโมเลกุล ประเภทโปรตีน เมื่อน้ำย่อยไหลย้อนกลับเข้าที่หลอดอาหารกรดและเพปซินจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของ หลอดอาหารทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบหรือกลายเป็นแผลในหลอดอาหารขึ้นได้ และถ้าน้ำย่อยสามารถ ไหลย้อนผ่านขึ้นมาสู่หลอดอาหารส่วนบนก็อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อบริเวณลำคอ จนเป็นสาเหตุ ให้เกิดอาการเจ็บคอและไอเรื้อรัง
โดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกป้องกันการเกิดภาวะกรดไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหาร เช่น กลไกการบีบตัวของหลอดอาหาร ลักษณะทางกายภาพของหลอดอาหาร ซึ่งมีเยื่อบุผิวป้องกันไม่ให้หลอดอาหาร ถูกทำลายด้วยกรด และมีอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันของเหลวจากกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลย้อน กลับมานั่นคือ กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร ซึ่งที่อยู่ 2 ที่ด้วยกัน คือ กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนบนของ หลอดอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหารที่ติดกับกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื่อกันว่าการ คลายตัวอย่างผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร โดยเฉพาะส่วนที่ติดอยู่กับกระเพาะอาหารนี่เอง ที่น่าจะเป็นสาเหตุหลักของอาการกรดไหลย้อนกลับ
อย่างไรก็ตามการไหลย้อนกลับของกรดนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น ความดัน ภายในหลอดอาหารต่ำกว่าปกติ ความดันในช่องท้องสูงกว่าปกติ บางส่วนของกระเพาะอาหารเลื่อนเข้าไปอยู่ ภายในหลอดอาหาร เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรืออาจเกี่ยวกับพันธุกรรมได้ (กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์, 2550)
3. การรักษากรดไหลย้อน


การรักษากรดไหลย้อน
การรักษาให้หายจากอาการกรดไหลย้อนกลับ ทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ
1. การปรับเปลี่ยนนิสัยที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือการดูแลสุขภาพของร่างกายด้วยตนเอง เช่น รับประทานอาหารแค่พอดีอิ่ม ไม่มากเกินไป ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า ที่รัดแน่น เพราะความอ้วนและการสวมเสื้อผ้ารัดๆ เป็นสาเหตุให้ความดันมนช่องท้องสูงกว่าปกติ หลีกเลี่ยง สาเหตุของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น จากการสูบบุหรี่หรือความเครียด ไม่ควรนอนยกของหนัก ก้มตัวเก็บของหรือออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารทันที นอกจากนี้เวลานอนอาจปรับหัวเตียงสูงขึ้น เล็กน้อยประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อลดความดันภายในช่องท้อง
2. การรับประทานยาและการผ่าตัด ในรายที่อาการมากอาจต้องใช้ยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร โดยต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากตัวยาบางชนิดอาจทำให้ปริมาณ กรดในกระเพาอาหารเพิ่มมากขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากต้แงได้รับการผ่าตัด
โรคกรดไหลย้อนอาจดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ถ้าเกิดการอักเสบที่อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร จนเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งในหลอดอาหารตามมาได้
4. สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
4.1 การใช้สมุนไพรรักษาอาการกรดไหลย้อน
พูดคุยกับแพทย์ก่อน. มีการใช้สมุนไพรในหลายๆ วิธีในการรักษาโรคกรดไหลย้อน แต่คุณจะต้องระมัดระวังด้วย ให้พูดคุยกับแพทย์ก่อนที่จะลองใช้วิธีเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วยวิธีธรรมชาตินั้นจะปลอดภัยแต่ทางที่ดีที่สุดก็คือคุณจะต้องแน่ใจว่ามันจะปลอดภัยเมื่อคุณใช้ ลองใช้การรักษาด้วยสมุนไพรควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อทำให้อาการกรดไหลย้อนดียิ่งขึ้น
- ถ้าคุณเป็นหญิงมีครรภ์ ให้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่มีอันตรายต่อทารก
(th.wikihow.com/รักษาอาการกรดไหลย้อนด้วยวิธีธรรมชาติ)
4.2 สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
4.2.1 ยอ หรือ ลูกยอ


ลูกยอ รักษากรดไหลย้อน
การศึกษาวิจัยพบว่า “ยอ” ซึ่งมีสารสำคัญ คือ สโคโปเลติน (scopoletin) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น สามารถลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดี พอๆ กับยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อน คือ รานิติดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง และยังมีรายงานว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมของรานิติดีน “ยอ” จึงเหมาะในการเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งจากการศึกษาวิจัยข้างต้น และการที่ “ยอ” มีรสร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ไม่เกิดลมในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน “ยอ” ยังช่วยให้กระเพาะบีบเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น ทำให้อาหารเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น (สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, 2560)
4.2.2 ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน รักษากรดไหลย้อน
ขมิ้นชันมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องอืด และช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กนานเกินไป ทั้งช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีผู้แนะนำให้กินขมิ้นชันก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ขนาดรับประทานคือ ครั้งละ 1 ช้อนชาสำหรับแบบผง หรือ 3 เม็ดๆ ละ 500 มก. (สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, 2560)
4.2.3 กล้วยน้ำว้า


กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน
ด้วยภูมิปัญญาของปู่ย่าตายา
สารสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกล้
“กล้วย จึงเป็นยาสมานแผลกระเพาะอาห
ข้อมูลอ้างอิง
กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์
สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์
ธัญญารัตน์ อัญญาวิจิตร. (2555). คู่มือสุขภาพ รู้ก่อนสาย ไม่เจ็บไม่ตาย! ต้าน 13 โรคฮิต หลีกห่าง
ให้เร็ว (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นานาสำนักพิมพ์.
“สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content /40675-สมุนไพรรักษากรดไหย้อน.html. (วันที่สืบค้น: 3 พฤษภาคม 2561).
“กระเพาะเป็นแผล แก้ด้วย…กล้วยดิบ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:http://thearokaya.co.th/web/?p=6502 (วันที่สืบค้น: 18 กุมภาพันธ์ 2562).