Xeomin Botox ของประเทศอะไร

Xeomin Botox (โบท็อกซ์ซีโอมิน) ผลิตโดยบริษัท MERZ PHARMA GMBH & CO. KGaA เมืองซัคเซิน-อันฮัลท์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ณ วันที่ 17 ธันวาคม 2566 ในประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียน Xeomin (สถานะคงอยู่) จำนวน 2 ชนิด คือ XEOMIN (100 LD50 UNIT) และ XEOMIN (100 LD50 UNIT) โดยจัดเป็นยาประเภทควบคุมพิเศษ มีส่วนประกอบสารสำคัญ คือ CLOSTRIDIUM BOTULINUM (TOXIN TYPE A) หรือที่รู้จักกันโดยย่อในชื่อ โบท็อกซ์ (Botox) บรรจุในรูปแบบผงยาปราศจากเชื้อ (STERILE POWDER)

ภาพประกอบ:

https://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/drugInfo.cfm?setid=3f35d6e0-3450-4abc-a0da-cc7b277e7c6e

Nabota Botox กล่องแดงและกล่องดำ ต่างกันอย่างไร?

Nabota Botox กล่องแดงและกล่องดำ ต่างกันอย่างไร?


Nabota Botox คือ

Nabota Botox (นาโบตะโบท็อกซ์) เป็นชื่อทางการค้าของผลิตภัณฑ์ยา โดยในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดเป็นยาประเภทควบคุมพิเศษ มีส่วนประกอบสารสำคัญ คือ CLOSTRIDIUM BOTULINUM (TOXIN TYPE A) หรือที่รู้จักกันโดยย่อในชื่อ โบท็อกซ์ (Botox) บรรจุในรูปแบบผงยาปราศจากเชื้อ (STERILE POWDER)


Nabota Botox กล่องดำและกล่องแดงต่างกันอย่างไร

Nabota Botox กล่องดำและกล่องแดงนั้น แตกต่างกันที่ปริมาณต่อหน่วย หรือปริมาณยูนิต กล่าวคือ

  1. Nabota Botox กล่องสีดำ ปริมาณ/หน่วย 100 ยูนิต
  2. Nabota Botox กล่องสีแดง ปริมาณ/หน่วย 200 ยูนิต

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินปริมาณที่ใช้ รวมถึงซักประวัติ (เพื่อประเมินหากจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรใช้) และแนะนำการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา

อาหารกับอาการซึมเศร้า

อาหารสามารถต่อสู้กับอาการซึมเศร้าได้จริงหรือ

อาหารสามารถต่อสู้กับอาการซึมเศร้าได้จริงหรือ

มีหลักฐานทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ชัดเจนว่า อาหารมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ขณะเดียวกันมีรายงานการศึกษาทางคลินิกชี้ชัดว่า อาหารมีความสำคัญต่อการเจ็บป่วยทางจิตและสุขภาพจิต การมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่คงความหลากหลาย อาทิ อาหารแบบวิถีเอเชีย ที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก ผัก ปลา ผลไม้ เต้าหู้ เครื่องเทศต่างๆ หรือวิถีตะวันตกแบบเมดิเตเรเนียนที่เน้นไปที่ผัก ผลไม้ เนื้อไม่ติดมัน ปลา น้ำมันมะกอก ฯลฯ มีผลสามารถลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ ในขณะที่การมีพฤติกรรมรับประทานอาหารแปรรูป อาหารปรุงแต่งต่างๆ เช่น บะหมี่ ขนมปัง เนื้อสัตว์แปรรูป เช่นเดียวกับผู้ที่เลือกอดอาหารบางประเภทเพื่อควบคุมน้ำหนัก กลับเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

การศึกษาทางคลินิกชี้ชัดอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนลดอาการซึมเศร้าได้

จากรายงานการศึกษาของ Heather Francis, Ph.D. และคณะ จากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย Macquarie ในซิดนีย์ ออสเตรเลีย กล่าวว่า การศึกษาหลายอันก่อนหน้า มักจะพบเป็นการศึกษาถึงความเชื่อมโยง แต่การวิจัยใหม่นี้เป็นการศึกษาทางคลินิกทีมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

คำอธิบายเพิ่มเติม การวิจัยทางคลินิก (Clinical trials) เป็นกระบวนการทดสอบ (ยา อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์อื่นๆ ฯลฯ) ในคน ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ถือว่าเป็นการวิจัยที่มีความสำคัญ เพราะหากไม่มีการวิจัยทางคลินิกโดยเฉพาะในคน แนวทางการรักษาใหม่ๆคงจะไม่เกิดขึ้น

โดยผลการศึกษาได้เผยแพร่ในวารสาร PLOS One เมื่อต้นตุลาคม 2019 นี้เอง โดยเป็นการศึกษาเชิงทดลอง ติดตามพฤติกรรมบริโภคอาหารในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่มีอาการปานกลางถึงสูงอย่างใกล้ชิด กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกอยู่ในวัยหนุ่มสาวอายุระหว่าง 17-35 ปี ใช้เวลาศึกษา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 5/8/2017-6/11/2018 ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกว่า 363 ราย (สุ่มเลือก 101 ราย) แบ่งการศึกษาเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก จะได้รับคำแนะนำเชิงป้องกันส่งเสริมการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นระยะต่อเนื่องตลอดการทดลอง ในการในการบริโภคอาหาร (diet group) แบบเมดิเตเรเนียน อาทิ ผัก (5 ครั้ง/สัปดาห์) ผลไม้ (2-3 ครั้ง/สัปดาห์) โปรตีนจากเนื้อไม่ติดมัน ไข่เต้าหู้ ปลา (3 ครั้ง/สัปดาห์) ถั่วและเมล็ดพืช เครื่องเทศ น้ำมันมะกอก อบเชย ขมิ้น เป็นต้น ซึ่งอาหารแบบเมดิเตอเรเนียน ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารว่าสามารถลดอาการซึมเศร้าได้ ขณะที่อีกกลุ่มบริโภคอาหารตามปกติชีวิตประจำวัน (Habitual diet control group) ใช้เวลาสามเดือนติดตามประเมินผล

ทั้งนี้ในรายละเอียดเพิ่มเติม จะเริ่มประเมินผลในสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งเป็่นช่วงระยะเวลาทีี่ได้รับการยืนยันทางวิชาการว่าการรักษาด้วยยาต้านเศร้าจะมีผลทางการรักษาเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะผลต่อกระบวนการลดภาวะอักเสบ (Inflamation reduction) ในร่างกายที่มีรายงานการศึกษาที่ผู้วิจัยอ้างถึง โดยยืนยันว่าการเจ็บป่วยทางจิตเวชโดยเฉพาะปัญหาโรคซึมเศร้า ไม่เพียงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานผิดปกติของสารเคมีในสมอง แต่ยังเกี่ยวข้องกับระบบการอักเสบ (inflammatory system) ของร่างกาย ทั้งนี้ผลการรักษาจะได้ผลเต็มที่ในช่วง 2-4 สัปดาห์

ประเมินภาวะซึมเศร้าจากแบบประเมินมาตรฐาน (หลายอัน เช่น แบบประเมินซึมเศร้า CESD-R แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression Anxiety and Stress), DASS-21-D, current mood (Profile of Mood States), self-efficacy (New General Self-Efficacy Scale) and memory (Hopkins Verbal Learning Test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเมดิเตเรเนียน มีอาการของโรคซึมเศร้าลดลง โดยมีค่าคะแนนจากจากแบบประเมินที่แสดงถึงอาการทางคลินิกลดลงอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ดร.ฟรานซิส ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “อาการซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของร่างกายไม่ใช่แค่ความผิดปกติของสมองแต่เพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ร่างกายจะมีการตอบสนองต่อภาวะการอักเสบเรื้อรัง ขณะเดียวกันอาหารที่ไม่ดีสามารถเพิ่มการอักเสบในระบบเช่นกัน สิ่งนี้น่าจะมีเหตุผลสองประการ” เธอกล่าว “อย่างแรกอาหารแปรรูปสูง ประเภทของหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ด และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล สามารถเพิ่มกระบวนการอักเสบของร่างกาย และสอง ถ้าเราไม่บริโภคอาหารที่มีสารอาหารหนาแน่นเพียงพอ อาทิ ผลไม้ ผัก ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือปลา สิ่งนี้อาจทำให้เกิดความไม่เพียงพอในสารอาหารและไฟเบอร์ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการอักเสบในร่างกาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ร่างกายต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน อันเป็นผลจากการเจ็บป่วยที่ร่างกายต้องต่อสู้กับกระบวนการอักเสบเรื้อรัง ที่มาพร้อมกับภาวะซึมเศร้าให้มีมากขึ้น”

อาหารวิถีเอเชีย สามารถลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ในขณะที่เมื่อเร็วๆนี้ การศึกษาของ Park SJ, Kim MS, Lee HJ. และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกชอนในเกาหลี เผยแพร่ในฐานข้อมูล PubMed เมื่อปี 2019 นี้เอง โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล 3 ปี ในกลุ่มวัยทำงานของคนเกาหลี,ญี่ปุ่น จำนวนกว่า 3,388 ราย เปรียบเทียบกัน โดยกลุ่มตัวอย่างแรก มีรูปแบบพฤติกรรมรับประทานอาหารธรรมชาติวิถีเอเชีย ที่เน้นไปที่ประเภท ผัก เห็ด น้ำเต้าหู้ สาหร่ายทะเล ปลา หอย (Shellfish) ข้าว ชาเขียว เป็นต้น ขณะที่อีกกลุ่มเน้นรับประทาน เนื้อสัตว์ บะหมี่ ขนมปัง กาแฟ ไม่ทานข้าวเลย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแรกที่เน้นอาหารหลากหลายจากธรรมชาติ มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าลดลง ในขณะที่กลุ่มที่สองที่เน้นรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ ขนมปัง บะหมี่ และไม่ทานข้าว กลับมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น

การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักในวัยกลางคน เพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้า

จากรายงานการศึกษาของ Tasnime N. Akbaraly และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยได้เผยแพร่ในวารสาร THE BRITISH JOURNAL OF PSYCHIATRY เมื่อปี 2009 พบว่า การอดอาหารแบบมีรูปแบบชัดเจนเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ เพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างวัยระหว่าง 35-55 ปี จำนวน 3,486 ราย คิดเป็นเพศหญิงกว่าร้อยละ 26.2 อายุเฉลี่ย 55.6 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางประเทภอย่างเข้มงวด เพื่อจุดประสงค์บางประการ นั่นค่อ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เน้นผักผลิตภัณฑ์แปลรูปโปรตีนจากพืช และผลไม้ เท่านั้น เป็นต้น เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เลือกรับประทานอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ โดยมีพฤติกรรมรับประทานแบบหลากหลาย ทั้งผัก โปรตีนจากสัตว์ คาร์โบไฮเดรตแบบปกติ หลังจากระยะเวลาผ่านไป 5 ปี ผู้วิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้า (CES–D depression) พบว่า กลุ่มที่เลือกรับประทานอาหารแบบเข้มงวดที่เน้นเฉพาะผักและผลิตภัณฑ์แปรรูปโปรตีนจากพืช ผลไม้ มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0222768

2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/31724417

3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2801825/

4. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/31388408

5. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18073775/

6. Woolley, K., Fishbach, A., & Wang, R. M. (2019). Food restriction and the experience of social isolation. Journal of personality and social psychology.

บทความต้นฉบับ

dmh.go.th

เหตุผลที่ไม่ควรรักษาสิวด้วยตนเอง

เมื่อเกิดอาการผิดปกติขึ้นบนใบหน้า โดยเฉพาะรอยโรคซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ด นูน หรือแดง ทำให้ผู้มีอาการดังกล่าวเข้าใจว่าตนนั้นเป็นสิว (Acne) หากแต่อาการเหล่านั้นอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่น เช่น ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) ผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis) ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจส่งผลให้อาหารรุนแรงขึ้น หรือแย่ลง

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการทางผิวหนังดังกล่าวจึงควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัย (โรค/สาเหตุ/ประเภทของสิว (รายที่เป็นสิว)) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การจ่ายยา และกำหนดแนวทางรักษาได้อย่างถูกต้อง

สถานที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 จังหวัดกระบี่

รายชื่อห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่ผ่านการทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการ เครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 ในจังหวัดกระบี่

คำอธิบายชนิดการตรวจ

NPS+TS = การตรวจด้วยตัวอย่างป้ายหลังโพรงจมูก และป้ายลำคอแบบรายตัวอย่าง


Pool Saliva = การตรวจด้วยตัวอย่างน้ำลายแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Saliva Samples)


Pool NPS+TS = การตรวจด้วยตัวอย่างป้ายหลังโพรงจมูก และป้ายลำคอแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Nasopharyngeal and Throat Swab Samples)

เมืองกระบี่

  1. โรงพยาบาลกระบี่ (Krabi Hospital)
    • โทรศัพท์: 0-7562-6700 ต่อ 2062
    • รูปแบบ: ภาครัฐ
    • ชนิดการตรวจ:
      • NPS+TS
      • Pool Saliva
      • Pool NPS+TS
    • ที่อยู่:
      1. โรงพยาบาลกระบี่ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก (งานอณูชีววิทยาทางการแพทย์) 325 ถนน อุตรกิจ ตำบล ปากน้ำ อำเภอ เมืองกระบี่ จังหวัด กระบี่ 81000
  2. บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด สาขาโรงพยาบาลวัฒนแพทย์ อ่าวนาง
    • โทรศัพท์: 0-7581-5555
    • รูปแบบ: เอกชน
    • ชนิดการตรวจ:
      • NPS+TS
  3. กระบี่ อินเตอร์ แล็บ คลินิกเทคนิคการแพทย์

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar/Keloid)

รอยแผลเป็นคืออะไร

รอยแผลเป็นเกิดจากการรักษาของร่างกายที่ผลิตโปรตีนชนิดคอลลาเจนมาใช้ในกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากการเกิดบาดแผล เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือสิว โดยเฉพาะสิวอักเสบที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งคอลลาเจนดังกล่าวมีการผลิตออกมามากเกินไปจึงทำให้เกิดเป็นเนื้อเยื่อที่นูนขึ้นมาจากผิวหนังเดิม กลายเป็นรอยแผลเป็นนูน อย่างไรก็ตาม หากร่างกายผลิตคอลลาเจนไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นรอยบุ๋ม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าซึ่งเรียกว่าหลุมสิว ได้เช่นกัน

ชนิดของรอยแผลเป็นนูน  

| อ้างอิง: si.mahidol.ac.th

รอยแผลเป็นนูนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้

  1. แผลเป็นนูนเกิน (Hypertrophic Scar) คือ แผลเป็นนูน แต่ไม่เกินขอบเขตของแผลเดิม เช่น ขนาดเท่ากับรอยสิวเดิม เป็นต้น
  2. แผลเป็นคีย์ลอย (Keloid) คือ เเผลเป็นนูนที่ขยายจากขอบเขตเดิมไปมาก 

การป้องกันรอยแผลเป็น

| อ้างอิง: si.mahidol.ac.th

การป้องกันการเกิดแผลเป็นเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการที่มีแผลใหม่ๆ แพทย์จะเริ่มโดยการแนะนำให้ผู้ป่วยนวด หรือการกดบริเวณนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วการนวดอย่างสม่ำเสมอในระยะประมาณ 3-6 เดือนแรก เป็นเรื่องสำคัญ และจะช่วยให้แผลเป็นนั้นลดการขยายตัวและนูนเกินได้ ในบางครั้งแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่กว้าง เช่นแผลเป็นที่เกิดจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก อาจจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษหรือผ้ารัดหรือ pressure garment โดย pressure garment นี้จะต้องสวมใส่เพื่อที่จะรัดบริเวณที่เกิดแผลเป็น เช่น ใบหน้า ลำตัว และแขน ขา ในช่วงระยะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีแรกหลังจากได้รับอุบัติเหตุ การนวดก็จะสามารถลดการเกิดแผลเป็นได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นในช่วงระยะแรกที่แผลเป็นมีการอักเสบอยู่ การนวดก็จะช่วยลดไม่ให้แผลเป็นมีการขยายใหญ่โตได้

การรักษารอยแผลเป็นนูน 

| อ้างอิง: si.mahidol.ac.th

  1. การใช้แผ่นซิลิโคนปิด แผ่นซิลิโคนนี้จะเป็นแผ่นเจลใสๆที่ทำมาจากซิลิโคน เราสามารถปิดไว้บนบาดแผล หลังจากบาดแผลหายดีแล้วประมาณ 7 วัน การปิดแผลนี้แนะนำให้ปิดตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งข้อดีจะทำให้บริเวณผิวหนังที่อยู่ใต้แผ่นซิลิโคนนี้มีความชุ่มชื้นมากขึ้น ทำให้ลดการอักเสบได้
  2. การใช้แผ่นเทปเหนียว หรือว่า microporous tape ก็จะสามารถทดแทนได้เช่นเดียวกัน แผ่นเทปเหนียวนี้สามารถใช้ปิดลงบนบาดแผลได้โดยตรง และจะทำให้ผิวหนังบริเวณใต้ต่อเทปนี้มีความชุ่มชื้นมากขึ้น ทำให้มีการอักเสบลดน้อยลง
  3. การฉีดยาด้วยยาสเตียรอยด์ จะลดการอักเสบของการเกิดเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ได้ ยาที่แนะนำคือ Triamcinolone acetonide ซึ่งเป็นยาฉีดเฉพาะที่ สามารถลดการอักเสบ วิธีการรักษาคือฉีดยาเข้าไปในแผลเป็นโดยตรง แต่ก็อาจทำให้มีอาการเจ็บได้พอสมควรในระหว่างการฉีดยา จะแนะนำให้ฉีดแผลเป็นนี้ในช่วงระยะประมาณไม่เกิน 1 ปีแรกหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่แล้วจะนัดมาฉีดประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งความถี่ในการฉีดขึ้นอยู่กับการตอบสนองของยาว่าเป็นอย่างไร
  4. การผ่าตัด การผ่าตัดมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับรูปแบบของแผลเป็นนั้น ถ้าเป็นกรณีที่เกิดเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ เราก็อาจจะใช้วิธีตัดออก หรือว่าลดขนาดลงบางส่วน วิธีนี้อาจจะใช้ร่วมกับการรักษาโดยวิธีอื่น เช่น การฉีดยา หรือการปิดด้วยแผ่นซิลิโคนก็ได้ การผ่าตัดมีอยู่หลายวิธี อาจจะใช้วิธีตัดออกโดยตรงแล้วเย็บปิดเป็นเส้นตรง หรืออาจจะตัดออกเป็นรูปซิกแซก เพื่อที่จะให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะใกล้เคียงกับรอยย่นตามผิวหนัง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นนูน

  1. แผ่นซิลิโคนปิด เช่น 
    1. Actewound Silicone Gel Sheet
    2. CICA CARE แผ่นซิลิโคนเจลชีท
  2. เจลรักษารอยแผลเป็นนูน เช่น
    1. Smooth E Scar silicone gel
    2. Dermatix Ultra Gel
    3. Dermatix Acne Scar
    4. Puricas Dragon’s Blood Scar Gel 
    5. Strataderm 
  3. ชนิดอื่นๆ เช่น
    1. เซรั่มรักษาแผลเป็นคีย์ลอย
    2. Bio-Oil 

ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์

  1. ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ หากมีผื่น คัน แดง ให้หยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  2. กรณีที่มีการใช้กับผิวหน้า ควรเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม เช่น ผู้มีผิวหน้ามัน ไม่ควรใช้ชนิดออยล์ หรือผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย หรือเป็นภูมิแพ้ผิวหนังควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ทำความรู้จักสิว การวินิจฉัย และการรักษา

บทความวิชาการ “หน้าใส ไร้สิว” โดย ผศ.ลีลาวดี เตชาเสถียร, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สิวคืออะไร ทำไมมักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัวส่วนบน

สิว (Acne) คือ การอักเสบของของหน่วยรูขนและต่อมไขมัน โดยมักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัวส่วนบน เนื่องจากมีต่อมไขมันขนาดใหญ่อยู่หนาแน่น

สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นของการเกิดสิว

สิว (Acne) เกิดจากหลายสาเหตุ: ภาวะฮอร์โมนในวัยรุ่น ความมันบนใบหน้า สารเคมี ผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริเวณใบหน้า ผลิตภัณฑ์นม หรือผลิตภัณฑ์ใส่บริเวณศีรษะบางชนิด การจับและสัมผัสบริเวณใบหน้าบ่อยๆ การขัดหน้า พอกหน้า ฟอกหน้า แกะ เกา หรือการทาผลิตภัณฑ์ที่วางขายบนสื่อออนไลน์

หัวข้อ: ชนิดของสิว, ความรุนแรงของสิว, และการรักษา ปรากฎตามแผนภาพแสดงและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์



บทนำ, นิยาม, ลักษณะทางคลินิกของสิว

ลักษณะทางคลินิกของสิว (ต่อ), การตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การวินิจฉัยแยกโรค

การรักษาสิว, การพยากรณ์โรค

การติดตามผล, สรุป, เอกสารอ้างอิง

ต้นทางข้อมูล: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/68185

หน้านี้ไม่แสดงโฆษณา ตามใบอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. / Morkeng.com / 22 สิงหาคม 2564 / Discliamer ขอสงวนความรับผิดชอบ หากเกิดจากความผิดพลาดของระบบอัตโนมัติ

Creative Commons License

รายชื่อชุดตรวจและน้ำยาสำหรับโควิด 19 ที่ผ่านการรับรองจาก อย.

รายชื่อชุดตรวจและน้ำยาสำหรับโควิด 19 (COVID-19) ที่ได้รับการอนุญาตผลิตและนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำหรับใช้โดยประชาชนทั่วไป (Home use)

อัพเดทข้อมูล 15 สิงหาคม 2564

PDF:

ต้นข้อมูล: https://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/SitePages/test_kit_covid19.aspx

Reduce Unwanted Wrinkles

Sed ut perspiciatis unde omnis iste natus error sit voluptatem accusantium doloremque laudantium, totam rem aperiam, eaque ipsa quae ab illo inventore veritatis et quasi arch itecto beatae vitae dicta sunt explicabo. Nemo enim ipsam voluptatem quia voluptas sit aspernatur aut odit aut fugit, sed quia consequuntur magni dolores eos qui ratione voluptatem sequi nesciunt. Neque porro quisquam est, qui dolorem ipsum quia dolor sit amet, consectetur, adipisci velit, sed quia non numquam eius modi tempora incidunt ut labore et dolore magnam aliquam quaerat voluptatem. Ut enim ad minima veniam, quis nostrum exercitationem ullam corporis suscipit laboriosam,

nisi ut aliquid ex ea comm odi consequatur? Quis autem vel eum iure reprehenderit qui in ea voluptate velit esse Tender loin fatback shank ball tip pastrami pork chop strip steak. Swine kielbasa pig doner ribeye andouille pastrami pork kevin. Pork loin chuck ham pork capicola. Pancetta t-bone cow drumstick tail jowl salami tri-tip shank pig turkey turducken ground round pork swine. Prosciutto tri-tip bresaola t-bone boudin

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nullam vitae nisi sed felis iaculis tempus ut a urna. Duis ma ximus nisi non lacus hendrerit elementum. Duis sit amet sem odio. Maecenas massa purus, iaculis id sem vitae, iaculis porttitor lectus.

Sed ut perspiciatis unde omnis iste natus error sit voluptatem accusantium doloremque laudantium, totam rem aperiam, eaque ipsa quae ab illo inventore veritatis et quasi arch itecto beatae vitae dicta sunt explicabo. Nemo enim ipsam voluptatem quia voluptas sit aspernatur aut odit aut fugit, sed quia consequuntur magni dolores eos qui ratione voluptatem sequi nesciunt. Neque porro quisquam est, qui dolorem ipsum quia.

บรรเทาอาการ กรดไหลย้อน ด้วยสมุนไพร

กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน

1. อาการที่บ่งบอกว่าเป็นไหลย้อน

แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก แน่นท้อง ท้องอืด เรอเปรี้ยว เจ็บคอ เสียงแหบ ไอเรื้อรัง หรือบางครั้งอาจมี น้ำย่อยรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนมาทางปาก อาการเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น บริเวณกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ที่เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (gastro esophageal reflux disease : GERD) (กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์, 2550)

 

2. กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

สาเหตุการเกิดโรคกรดไหลย้อน

 

  ภาวะของโรคกรดไหลย้อน เกิดขึ้นเนื่องจาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังบริเวณ หลอดอาหาร ซึ่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารมีสภาพความเป็นกรดสูง เพราะประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกซึ่ง ทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ที่ผ่านเข้ามาพร้อมกับอาหาร รวมทั้งเอนไซม์เพปซินซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารชีวโมเลกุล ประเภทโปรตีน เมื่อน้ำย่อยไหลย้อนกลับเข้าที่หลอดอาหารกรดและเพปซินจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของ หลอดอาหารทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบหรือกลายเป็นแผลในหลอดอาหารขึ้นได้ และถ้าน้ำย่อยสามารถ ไหลย้อนผ่านขึ้นมาสู่หลอดอาหารส่วนบนก็อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อบริเวณลำคอ จนเป็นสาเหตุ ให้เกิดอาการเจ็บคอและไอเรื้อรัง

             โดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกป้องกันการเกิดภาวะกรดไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหาร เช่น กลไกการบีบตัวของหลอดอาหาร ลักษณะทางกายภาพของหลอดอาหาร ซึ่งมีเยื่อบุผิวป้องกันไม่ให้หลอดอาหาร ถูกทำลายด้วยกรด และมีอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันของเหลวจากกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลย้อน กลับมานั่นคือ กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร ซึ่งที่อยู่ 2 ที่ด้วยกัน คือ กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนบนของ หลอดอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหารที่ติดกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งเชื่อกันว่าการ คลายตัวอย่างผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร โดยเฉพาะส่วนที่ติดอยู่กับกระเพาะอาหารนี่เอง ที่น่าจะเป็นสาเหตุหลักของอาการกรดไหลย้อนกลับ

อย่างไรก็ตามการไหลย้อนกลับของกรดนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น ความดัน ภายในหลอดอาหารต่ำกว่าปกติ ความดันในช่องท้องสูงกว่าปกติ บางส่วนของกระเพาะอาหารเลื่อนเข้าไปอยู่ ภายในหลอดอาหาร เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรืออาจเกี่ยวกับพันธุกรรมได้ (กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์, 2550)

 

3. การรักษากรดไหลย้อน

 

การรักษากรดไหลย้อน
การรักษากรดไหลย้อน

 

การรักษาให้หายจากอาการกรดไหลย้อนกลับ ทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ 

1. การปรับเปลี่ยนนิสัยที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือการดูแลสุขภาพของร่างกายด้วยตนเอง เช่น รับประทานอาหารแค่พอดีอิ่ม ไม่มากเกินไป ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า ที่รัดแน่น เพราะความอ้วนและการสวมเสื้อผ้ารัดๆ เป็นสาเหตุให้ความดันมนช่องท้องสูงกว่าปกติ หลีกเลี่ยง สาเหตุของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น จากการสูบบุหรี่หรือความเครียด ไม่ควรนอนยกของหนัก ก้มตัวเก็บของหรือออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารทันที นอกจากนี้เวลานอนอาจปรับหัวเตียงสูงขึ้น เล็กน้อยประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อลดความดันภายในช่องท้อง

2. การรับประทานยาและการผ่าตัด ในรายที่อาการมากอาจต้องใช้ยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร โดยต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากตัวยาบางชนิดอาจทำให้ปริมาณ กรดในกระเพาอาหารเพิ่มมากขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากต้แงได้รับการผ่าตัด
โรคกรดไหลย้อนอาจดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ถ้าเกิดการอักเสบที่อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร จนเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งในหลอดอาหารตามมาได้

 

4. สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

 

4.1 การใช้สมุนไพรรักษาอาการกรดไหลย้อน

พูดคุยกับแพทย์ก่อน. มีการใช้สมุนไพรในหลายๆ วิธีในการรักษาโรคกรดไหลย้อน แต่คุณจะต้องระมัดระวังด้วย ให้พูดคุยกับแพทย์ก่อนที่จะลองใช้วิธีเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วยวิธีธรรมชาตินั้นจะปลอดภัยแต่ทางที่ดีที่สุดก็คือคุณจะต้องแน่ใจว่ามันจะปลอดภัยเมื่อคุณใช้ ลองใช้การรักษาด้วยสมุนไพรควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อทำให้อาการกรดไหลย้อนดียิ่งขึ้น

  • ถ้าคุณเป็นหญิงมีครรภ์ ให้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่มีอันตรายต่อทารก

(th.wikihow.com/รักษาอาการกรดไหลย้อนด้วยวิธีธรรมชาติ)

 

4.2 สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

4.2.1 ยอ หรือ ลูกยอ

ลูกยอ รักษากรดไหลย้อน
ลูกยอ รักษากรดไหลย้อน

 

การศึกษาวิจัยพบว่า “ยอ” ซึ่งมีสารสำคัญ คือ สโคโปเลติน (scopoletin) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น สามารถลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดี พอๆ กับยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อน คือ รานิติดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง และยังมีรายงานว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมของรานิติดีน “ยอ” จึงเหมาะในการเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งจากการศึกษาวิจัยข้างต้น และการที่ “ยอ” มีรสร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ไม่เกิดลมในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน “ยอ” ยังช่วยให้กระเพาะบีบเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น ทำให้อาหารเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น (สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, 2560)

 

4.2.2 ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน รักษากรดไหลย้อน
ขมิ้นชัน รักษากรดไหลย้อน

 

ขมิ้นชันมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องอืด และช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กนานเกินไป ทั้งช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีผู้แนะนำให้กินขมิ้นชันก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ขนาดรับประทานคือ ครั้งละ 1 ช้อนชาสำหรับแบบผง หรือ 3 เม็ดๆ ละ 500 มก. (สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, 2560)

 

4.2.3 กล้วยน้ำว้า 

กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน
กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน

 

ด้วยภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย “กล้วยดิบ” ถูกนำมาใช้รักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารมานานแล้ว และในปัจจุบันยังมีการค้นพบว่า ในกล้วยดิบมีสารสำคัญที่ให้รสฝาดและช่วยสมานแผลชื่อ “แทนนิน” ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยป้องกันผนังกระเพาะอาหารไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ และรสที่เผ็ดร้อนเกินไปทำอันตรายกับผนังกระเพาะอาหารของเราได

สารสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกล้วยทุกชนิดคือ “เซโรโทนิน” ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกตามธรรมชาติออกมาเคลือบแผล แต่จะไม่กระทบกับการหลั่งน้ำย่อย ซึ่งจะช่วยลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนท้องโดยที่ไม่ทำให้การย่อยลดประสิทธิภาพลง ในขณะที่ยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร โดยมากออกฤทธิ์เพียงเคลือบป้องกันแผล แต่กล้วยมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและสมานแผลในกระเพาะอาหารควบคู่ไปด้วย

“กล้วย จึงเป็นยาสมานแผลกระเพาะอาหารที่มีคุณภาพดีและราคาถูก” (กระเพาะเป็นแผล แก้ด้วยกล้วยดิบ)

 


ข้อมูลอ้างอิง

กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์

สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์

ธัญญารัตน์ อัญญาวิจิตร. (2555). คู่มือสุขภาพ รู้ก่อนสาย ไม่เจ็บไม่ตาย! ต้าน 13 โรคฮิต หลีกห่าง
ให้เร็ว (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นานาสำนักพิมพ์.
“สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content /40675-สมุนไพรรักษากรดไหย้อน.html. (วันที่สืบค้น: 3 พฤษภาคม 2561).

“กระเพาะเป็นแผล แก้ด้วย…กล้วยดิบ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:http://thearokaya.co.th/web/?p=6502 (วันที่สืบค้น: 18 กุมภาพันธ์ 2562).