BMI Calculator

โปรแกรมคำนวณ BMI ออนไลน์  สำหรับผู้หญิงและผู้ชาย สามารถคำนวณความสมดุลระหว่างส่วนสูงและน้ำหนักตัว เพื่อเป็นตัวชี้วัดรูปร่างภายนอก และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาวะสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคในเบื้องต้น

ดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร

โปรแกรมคำนวณดัชนีมวลกาย BMI
โปรแกรมคำนวณดัชนีมวลกาย BMI ออนไลน์

ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) คือ การคำนวณความสมดุลระหว่างส่วนสูงและน้ำหนักตัว เพื่อเป็นตัวชี้วัดรูปร่างภายนอก และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาวะสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดโรคในเบื้องต้น

วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI Calculation)

ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)

ตัวอย่างเช่น

น้ำหนัก 56 กิโลกรัม

ส่วนสูง 175 แปลงเป็นเมตร = 1.75

วิธีทำ

56 ÷ 1.75 x 1.75

ผลลัพธ์ = 18.28

หมายเหตุ

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) ของแต่ละคนจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของคน ๆ นั้นหารด้วยความสูงที่เป็นเมตรสองครั้ง ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีมวลกายปกติของคนเอเชีย คือ 18.5 – 22.9

เกณฑ์ในการวัดค่าดัชนีมวลกาย (มาตรฐานคนเอเชีย)

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5

น้ำหนักของคุณต่ำกว่าเกณฑ์ กล่าวคือ น้ำหนักและส่วนสูงของคุณไม่สมดุล ทำให้มีรูปร่างผอม คุณควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งการออกกำลังกายแบบปกติ ควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระหว่าง 18.5-22.9

คุณมีรูปร่างสมส่วน ดีมาก! พยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ต่อไป เพื่อการมีสุขภาพที่ดี

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระหว่าง 23-24.9

คุณอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน พยายามลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยควบคุมพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระหว่าง 25-29.9

คุณเข้าเกณฑ์โรคอ้วน พยายามลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยควบคุมพฤติกรรมการกินให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30

คุณเข้าเกณฑ์โรคอ้วนอันตราย โดยมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง คุณควรวางแผนและควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม